
วิกฤตการณ์ COVID-19 ได้เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้ทำลายแค่สุขภาพของคนเท่านั้น แต่ยังทำลายเศรษฐกิจ และทำให้องค์กรและธุรกิจส่วนใหญ่ตกอยู่สภาวะวิกฤต ต้องเร่งปรับตัว งัด Business Continuity Plan ออกมาใช้กันขนานใหญ่
Business Continuity Plan หรือ BCP เป็นเหมือนแผนการที่เตรียมไว้ เพื่อให้องค์กรพร้อมรับมือกับสภาวะฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด แต่แท้จริงแล้ว หากเราลองมองในอีกมุมหนึ่ง ในช่วงวิกฤตนี้อาจเป็นช่วงที่เราได้ค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็น ‘โอกาส’ ก็เป็นได้
RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาค ที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆเพื่อเร่งสปีดนวัตกรรมผ่านโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับจากกว่า 400 องค์กรทั่วเอเชีย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมในช่วง COVID-19 รวมถึงสภาวะวิกฤตอื่นๆที่ไม่อาจคาดเดาได้ เพื่อที่องค์กรจะสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส จึงพัฒนา Innovation Continuity Plan หรือ ICP ขึ้นมา เพื่อใช้คู่ขนานกับ Business Continuity Plan ขององค์กร พร้อมฝ่าวิกฤตการณ์ COVID-19 ด้วยนวัตกรรม
“ในสภาวะวิกฤตแบบนี้ ผู้นำองค์กร คือ ตัวแปรที่สำคัญอย่างมากกับความอยู่รอดขององค์กรและพนักงาน สิ่งที่คุณต้องเริ่มทำตอนนี้คือ เริ่มคิดก่อน เริ่มลงมือทำก่อน เป้าหมายของเราคือ อยากให้ทุกคนรอด หรือถ้าดีกว่านั้นคือ รุ่ง คือสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เริ่มกลับมายืนได้อีกครั้ง และมีกำลังพอที่จะไปช่วยเหลือคนอื่นต่อ เพราะสุดท้ายประเทศต้องเดินหน้าต่อไป” — หมอคิด นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร
Innovation Continuity Plan คืออะไร?
Innovation Continuity Plan (ICP) คือ แผนในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กรที่ใช้รับมือเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้การดำเนินงานปกติขององค์กรต้องหยุดชะงักลง ทำให้องค์กรสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อเนื่องได้เร็วที่สุดด้วยโซลูชั่นใหม่ที่ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาหรือลดความเสียหายต่อลูกค้า, ทรัพย์สิน, ชื่อเสียง และการดำเนินธุรกิจขององค์กร แต่สามารถเพิ่มโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจอีกด้วย
ทำไม Innovation Continuity Plan ถึงจำเป็น?
Creating new opportunities: ช่วยเปิดใจ เปลี่ยนมุมมอง เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจในภาวะวิกฤต
Encouraging employee participation: ช่วยเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการหาโซลูชั่นใหม่ไปด้วยกัน
Fostering new collaboration: ช่วยเปิดรับความร่วมมือกับภายนอก เพื่อสามารถลงมือทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้รวดเร็วมากขึ้น
Exploring the new value: ช่วยเปิดช่องทางใหม่ในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ให้องค์กร
เริ่ม Innovation Continuity Plan ด้วย Innovation Continuity Canvas
Innovation Continuity Canvas ถูกออกแบบมาควบคู่กับ Innovation Continuity Plan เพื่อให้องค์กรสามารถเริ่มทำลงมือทำ ICP ได้ง่ายที่สุด เพราะ canvas นี้จะช่วยจัดอันดับความสำคัญของสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องใช้ในการทำ Innovation Continuity Plan และช่วยให้ทีมที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนเห็นภาพเดียวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
การวางแผน Innovation Continuity Plan จะมีความแตกต่างจากการวางแผน Business Continuity Plan อย่างมากในเรื่องของระยะเวลาในการวางแผนและผลลัพธ์ที่ได้
ระยะเวลาในการวางแผน — ICP ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการประเมินความเสี่ยงและวางแผนนานเท่ากับ BCP ควรเอามาใช้ในระยะที่องค์กรเริ่มเห็นสัญญาณวิกฤต อย่างเช่น การระบาดใหญ่ของ COVID-19 หรือแม้แต่วิกฤตที่องค์กรไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น อุบัติเหตุไฟไหม้โรงงาน หรือ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น ซึ่งนั่นหมายความว่าพนักงานทุกคนในองค์กรจะต้องได้รับการเทรนวิธีการใช้ ICP ก่อนการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผลลัพธ์ที่ได้ — ICP จะเน้นผลลัพธ์ที่ออกมาในรูปแบบของการสร้างและพัฒนานวัตกรรม เพื่อเป็นโอกาส หรือโซลูชันใหม่ของธุรกิจ ในขณะที่ BCP จะเน้นในแง่ของการจัดการและบริหารธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุด แม้ในยามวิกฤต
ใช้ Innovation Continuity Canvas อย่างไร?
Innovation Continuity Canvas ประกอบไปด้วย 9 ช่อง ดังต่อไปนี้

สามารถดาวน์โหลด Full version ของ Innovation Continuity Canvas ได้ที่ >> http://bit.ly/ICPbyRISE_TH
For English version >> http://bit.ly/ICPbyRISE_EN
WHAT: สถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ
(1) SITUATION: สภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นคืออะไร และมีผลกระทบอย่างไรธุรกิจของเราในภาพรวม
(2) MISSION-CRITICAL: สิ่งที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดของธุรกิจคืออะไร
HOW: วิธีการที่ธุรกิจจะใช้เพื่อหาโซลูชั่นใหม่
(3) MINDSET: คำถามใหม่ๆที่เกิดจากการมองธุรกิจในมุมที่แตกต่างออกไปจากวิธีคิดเดิมๆ เพื่อหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
(4) STRATEGY: กลยุทธ์ที่ต้องใช้หรือสิ่งที่ต้องทำเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด
(5) TECHNOLOGY: เทคโนโลยีรูปแบบใดที่จะนำมาใช้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้
WHO: ผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในแผนการนี้
(6) RESOURCES: ทรัพยากรใดที่จะเป็นต้องใช้ในการดำเนินการนี้ ไม่ว่าจะเป็น คน งบประมาณ หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
(7) COLLABORATION: ใครหรือองค์กรใดที่สามารถเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจ เพื่อให้แผนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
(8) CHANNELS: ช่องทางใดที่สามารถใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
VALUE: ความสำเร็จที่วัดผลได้
(9) VALUE: อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่วัดผลได้ของแผนการนี้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ยอดขายเท่านั้น)

Innovation Continuity Canvas in Action: ตัวอย่างการใช้ ICP ในสภาวะวิกฤต
Case Study 1: แพลตฟอร์ม E-commerce ด้านแฟชั่น ที่เพิ่มรายได้ช่องทางใหม่จากการขายสินค้าอุปโภคบริโภคในแพลตฟอร์ม ในช่วงเวลาที่ผู้คนลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

WHAT: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผู้คนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น เน้นซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้แพลตฟอร์ม E-commerce ด้านแฟชั่น มียอดขายลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำอย่างไรธุรกิจจะสามารถมีรายได้เข้ามาและมีเงินหมุนเวียนเพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอด ไม่ต้องให้พนักงานออก
HOW: เพื่อหาทางออกให้กับธุรกิจ ผู้บริหารจึงตั้งคำถามใหม่ว่า เรามีแพลตฟอร์ม E-commerce ด้านแฟชั่นที่แข็งแรงอยู่แล้ว ในสถานการณ์นี้ที่คนไม่ใช้จ่ายกับของฟุ่มเฟือยเราสามารถเป็นแพลตฟอร์ม E-commerce สำหรับสินค้าอื่นได้หรือไม่? บริษัทจึงตัดสินใจที่จะขายของที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่าง อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้าน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วย เพื่อสื่อสารกับลูกค้า ผู้ผลิต และแบรนด์สินค้าต่างๆ รวมถึงกาารปิดการขาย
WHO: เพื่อทำให้สามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างรวดเร็ว บริษัทตัดสินใจหาพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพและร้านค้าที่ขายอาหารและเครื่องดื่ม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดในชุมชน และสตาร์ทอัพที่ให้บริการด้าน delivery รวมทั้ง มีการเพิ่มเติมช่องทางการชำระเงิน เพื่อรองรับการชำระเงินปลายทางอย่างการสแกน QR Code ซึ่งวิธีการสื่อสารไปยังลูกค้า ก็ใช้การทำการตลาดผ่านสื่อโซเชียล ใช้ KOL (Key Opinion Leader) และทีมเซลล์และฝ่ายบริการลูกค้าช่วยซัพพอร์ตลูกค้าอีกแรง
VALUE: โอกาสใหม่ของแพลตฟอร์ม E-commerce ด้านแฟชั่น เจ้านี้ก็คือ มีพ่อค้าแม่ค้ามาขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมากขึ้น สามารถมีรายได้เพิ่มเติมจากการขายสินค้าแฟชั่น และสุดท้ายยังได้ข้อเสนอแนะจากลูกค้าที่ได้ใช้บริการใหม่นี้อีกด้วย
ตัวอย่างถัดไป เป็นตัวอย่างจาก RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ของเรานั่นเอง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เช่นเดียวกัน
Case Study 2: Experiential Workshop เวิร์กชอปที่ต้องลงมือทำในคลาส ถูกยกประสบการณ์การเข้าเรียนขึ้นมาอยู่ในออนไลน์

WHAT: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยที่ยังไม่มีทีท่าที่จบลงได้ในเร็ววัน รัฐบาลได้ออกมาตรการล๊อคดาวน์ รณรงค์เรื่องของ Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม ให้ทุกคนอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งด้วยมาตรการและพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปทำให้เวิร์กชอปด้านนวัตกรรมแบบลงมือทำของ RISE ไม่สามารถจัดได้ ทำอย่างไรที่ RISE จะสามารถเปิดเวิร์กชอปด้านนวัตกรรมแบบลงมือทำในช่วงที่เราไม่สามารถให้คนมาเข้าร่วมแบบเจอตัวกันได้
HOW: เพื่อหาทางออกให้กับสถานการณ์นี้ RISE จึงตั้งคำถามใหม่ว่า ถ้าหัวใจของการจัดเวิร์กชอปของเรา คือ เนื้อหาเข้มข้น ผู้สอนที่รู้จริง และการลงมือทำ เพื่อปั้นนวัตกรองค์กรที่สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมได้จริง เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบของเวิร์กชอป แต่คงไว้ซึ่งประสบการณ์เสมือนได้เรียนในห้องเวิร์กชอปได้หรือไม่? RISE ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนไปจัดเวิร์กชอปแบบลงมือทำแบบออนไลน์ ด้วยราคาที่สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น รวมถึงมีการจัดทำ Toolbox ที่รวบรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่เหมือนกับที่ใช้ในเวิร์กชอปปกติ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับการเรียนในห้องมากที่สุด โดยเราใช้แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ในการจัดเวิร์กชอปแทน
WHO: เพื่อทำให้สามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างรวดเร็ว RISE ร่วมกับผู้สอนหลักสูตรต่างๆ เพื่อจัดเวิร์กชอปแบบออนไลน์ และได้รับการสนับสนุนจากทั้งพาร์ทเนอร์ที่เป็นสื่อและองค์กรต่างๆที่สนใจด้านนวัตกรรม ช่วยโปรโมทเวิร์กชอปที่จัดขึ้น มีการทดลองจัดเวิร์กชอปออนไลน์กับพนักงานของ RISE และตัวแทนจากองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาเวิร์กชอปออนไลน์ที่มีเนื้อหาเข้มข้น สามารถลงมือทำได้จริง และมีการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะได้แบบเหมือนมาเรียนในห้อง ซึ่งวิธีการสื่อสารไปยังลูกค้า ก็ใช้การทำการตลาดผ่านฐานลูกค้าของ RISE สื่อโซเชียล และ KOL (Key Opinion Leader) ต่างๆ
VALUE: โอกาสใหม่ที่ RISE จะศึกษาและพัฒนาการจัดเวิร์กชอปออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยและจัดได้บ่อยขึ้น
ปัจจัยที่จะทำให้ Innovation Continuity Plan สำเร็จคืออะไร?
สำหรับ RISE การทำ Innovation Continuity Plan ก็คล้ายกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมองค์กรในสภาวะปกติ ICP จะสำเร็จได้นั้น ปัจจัยที่สำคัญ คือ ‘ผู้นำองค์กร’ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือระดับหัวหน้าทีมที่ย่อยลงมาในแผนกต่างๆ
‘ผู้นำ’ ในองค์กร ต้องกล้านำ ต้องเริ่มก่อน เริ่มเปลี่ยนทัศนคติและเริ่มลงมือทำก่อน ด้วยวิธีคิดแบบนวัตกร 3 ข้อ ได้แก่
RISK over SAFETY: กล้าเสี่ยง มากกว่า หลบอยู่ในโซนปลอดภัย
ผู้นำที่มีวิธีคิดแบบนวัตกรจะเลือกที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ แม้จะเสี่ยงอยู่บ้าง แต่อาจจะพาไปสู่ผลลัพธ์ดีกว่าเดิม มากกว่าที่จะทำสิ่งเดิมที่ชำนาญอยู่แล้ว และให้ผลลัพธ์เท่าเดิม
SPEED over SCALE: ทำให้ไว มากกว่า ทำให้ใหญ่
นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยการทำโปรเจคใหญ่โต ทุ่มงบประมาณหลักล้าน แต่สิ่งที่ผู้นำที่มีวิธีคิดแบบนวัตกรต้องให้ความสำคัญ คือการสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้ไว แม้บางครั้งอาจจะไปสมบูรณ์แบบ 100% อาจจะมีผิดพลาดไปบ้าง เราจะเรียนรู้และนำความผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงแก้ไข
PRACTICE over THEORY: เรียนรู้จากการลงมือทำ มากกว่า เชื่อแต่ตำรา
หลายๆครั้งที่เราสร้างนวัตกรรม เวลาที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะถูกใช้ไปกับการศึกษาหาข้อมูล มากกว่าการลงมือทำ แต่เคล็ดลับความสำเร็จของนวัตกรรมส่วนใหญ่คือการเรียนรู้จากการลงมือทำ รับข้อเสนอแนะจากลูกค้าหรือผู้ใช้งาน และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมนั้นๆต่อไป
สุดท้ายนี้ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร เชื่อมั่นว่า Innovation Continuity Plan ที่เราได้พัฒนาขึ้นมาจะสามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆสามารถคิดวิธีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อฝ่าฟันและผ่านพ้นช่วงวิกฤตแบบนี้ไปได้
สามารถดาวน์โหลด Full version ของ Innovation Continuity Canvas ได้ที่ >> http://bit.ly/ICPbyRISE_TH
For English version >> http://bit.ly/ICPbyRISE_EN
ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ ICP หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมองค์กรได้ที่
Facebook: RISECorporateInnovation
Email: hello@riseaccel.com
Phone: (+66) 2 046 2929
Website: riseaccel.com