
ในช่วงวิกฤต หลายต่อหลายองค์กรได้มีการพูดถึงทักษะ Resilience หรือความยืดหยุ่น ที่หมายถึงความสามารถในการรับมือและปรับตัวกับอุปสรรคใหม่ที่เข้ามาท้าทายหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป พร้อมฟื้นตัวกลับมาดำเนินการต่อได้อย่างรวดเร็วหลังประสบวิกฤต หรือเรียกสั้นว่า ๆ ‘ล้มแล้วลุกได้เร็ว’ ซึ่ง Resilience คือหนึ่งในทักษะที่จำเป็นอย่างมากในโลกที่กำลังเผชิญทั้งวิกฤตการณ์และความไม่แน่นอนเช่นนี้
ถามว่าทักษะ Resilience ตอนนี้มาแรงแค่ไหน? ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา คำว่า Resilience ได้ถูกค้นหาใน Google Search มีค่าความสนใจใน Google Trend ถึง 100 ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่สูงสุดในประวัติการณ์ ตั้งแต่ปี 2547 แต่ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้น คือ Resilience ถูกพูดถึงอย่างมากในมุมของการพัฒนาคนให้มีทักษะดังกล่าวและการสร้างองค์กรที่มีความยืดหยุ่น ล้มแล้วลุกได้เร็ว
วันนี้ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร จะพาคุณมาถอดบทเรียน 8 ข้อ ฟื้นองค์กรหลังวิกฤตด้วยทักษะ ‘Resilience ล้มแล้วลุกได้เร็ว’ ที่องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อปรับตัวในโลกยุคใหม่

ข้อ 1 อย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต
แน่นอนว่าความสำเร็จในอดีต คือ สิ่งที่องค์กรภาคภูมิใจ ถูกเล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จนนำมาเป็นสูตรสำเร็จขององค์กรที่คนในองค์กรยึดถือปฏิบัติต่อกันมา โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันโลกหมุนเร็วไปมาก ความสำเร็จในอดีตอาจจะไม่ใช่คำตอบขององค์กรในปัจจุบันอีกต่อไป หากจะเป็นองค์กรล้มแล้วลุกได้เร็ว ต้องเลิกยึดติดกับความสำเร็จในอดีต แล้วเริ่มค้นหาโซลูชันใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ปัจจุบัน และเปิดโอกาสสู่อนาคตใหม่
ข้อ 2 ความเชื่อของแบรนด์ที่ดีจะเป็นเสมือนน้ำ อยู่ภาชนะใดก็คงคุณค่าเดิมไว้
แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความเชื่อของแบรนด์ หรือแก่นของแบรนด์ (Brand Essence) ที่ดี จะมีความลื่นไหล สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นไปของโลก เป็นเสมือนน้ำ อยู่ภาชนะใดก็สามารถให้คุณค่าดังเดิม ตัวอย่าง เช่น RISE Corporate Innovation University ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมผ่านการลงมือทำจริงผ่านเวิร์กชอป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้พัฒนาองค์กรได้จริง ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำเวิร์กชอปที่ต้องเจอหน้ากัน มาเป็นเวิร์กชอปแบบออนไลน์ เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยังรักษาแก่นคุณค่าของบริการที่จะปั้นนวัตกรในองค์กรผ่านเวิร์กชอปที่เน้นการลงมือทำ
ข้อ 3 ผู้นำต้องนำสู่ความเปลี่ยนแปลงก่อน
ผู้นำ คือ แม่ทัพหลักในการนำทีมเดินหน้าหาโอกาสใหม่ ๆ ในวันที่ธุรกิจพบกับมรสุม ผู้นำจะต้องมีความเชื่อก่อนว่าเราล้มแล้วลุกใหม่ได้ ต้องเชื่อก่อนว่าเราสามารถฟันฝ่าวิกฤตไปด้วยกันได้ และต้องเชื่อก่อนว่าเราสามารถคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อมีทางรอดให้กับธุรกิจได้ จึงจะสามารถสร้างแรงตุ้นให้คนอื่นๆ ในองค์กร ลุกขึ้นตามและเดินไปสู่ความสำเร็จครั้งใหม่พร้อมกัน
ข้อ 4 ทีมเวิร์ก คือ มันสมอง สองมือ สู่หนึ่งเป้าหมายใหม่
ส่วนผสมลับ (ที่ไม่ลับ) ของการสร้างองค์กรที่ล้มแล้วลุกใหม่ได้รวดเร็ว คือ ทีมเวิร์ก ถึงแม้คุณจะมีตำแหน่งเป็นถึงผู้บริหาร แต่คุณต้องการทีมที่ดี ที่แข็งแรงทั้งกายและใจ ที่พร้อมสนับสนุนเป้าหมายใหม่และสนุกไปกับความท้าทายใหม่ ทีมจะนำมาซึ่งไอเดียใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ที่คุณควรเปิดใจฟัง ให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน และ สิ่งที่สำคัญ คือ มีเป้าหมายเดียวกัน จะล้มสักกี่ครั้งก็พร้อมลุกขึ้นมาลุยต่อและทำให้ดีกว่าเดิม
ข้อ 5 คิดให้น้อย ทำให้เยอะ
หลาย ๆ ครั้ง องค์กรที่ตั้งเป้าทำสิ่งใหม่ มักเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการคิด วางแผนกลยุทธ์ ทำวิจัย เพื่อให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าสิ่งใหม่ที่จะทำขึ้นมานั้นจะประสบความสำเร็จดังหวัง มากกว่าการลงมือทำจริงและเรียนรู้จากมัน ซึ่งวิธีที่จะทำให้คุณคิดให้น้อยลง และลงมือทำให้มากขึ้น ก็คือการทำ Prototype หรือการทดลองทำแบบจำลองที่ไม่แพงและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น Google Glass Prototype ที่เริ่มทำแบบจำลองประสบการณ์ใช้งานจากไม้แขวนเสื้อและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำขึ้นมาภายในเวลาไม่กี่วันและในราคาที่ไม่แพง เพื่อนำไปเทสกับผู้ใช้จริงในตลาด สิ่งสำคัญ คือ Prototype ที่ทำขึ้นมาควรจะสามารถทำให้เรามั่นใจได้ว่าอะไรที่เวิร์ก และอะไรที่ไม่เวิร์ก
ข้อ 6 ตั้งเป้าให้ชัด และวัดผลให้เป็นระบบ
ในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม ต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจน ผนวกกับการสื่อสารภายในองค์กรที่เข้าใจง่ายและต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้ รู้ว่าทำอะไรจะช่วยส่งเสริม ต่อยอดให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับการวัดผลที่เป็นระบบ ด้วยการใช้ข้อมูล เพื่อช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธ์ การจัดการและตัวชี้วัดความสำเร็จของการล้มแล้วลุกในครั้งนี้
ข้อ 7 ชื่นชมความล้มเหลวเหมือนชื่นชมความสำเร็จ
แน่นอนว่า ออกรบร้อยครั้ง ก็ไม่ใช่ว่าจะชนะร้อยครั้ง ความพ่ายแพ้หรือความผิดพลาด มักจะมาพร้อมกับการเรียนรู้เสมอ ซึ่งถ้าเราสามารถเรียนรู้จากข้อผิดพลาด คือเรื่องที่เราควรจะชื่นชม เหมือนกับที่เราชื่นชมให้กับความสำเร็จ เพื่อให้คนในองค์กรมีกำลังใจลุกขึ้นมาลุยต่อ พร้อมแก้ไขความผิดพลาด ไปสู่เป้าหมายที่องค์กรได้ตั้งไว้
ข้อ 8 อย่ายอมแพ้ที่จะพลิกวิกฤต เป็นโอกาส
ข้อสุดท้ายนี้ ขอกลับมาที่เรื่องของทัศนคติที่องค์กรที่จะล้มแล้วลุกได้อย่างรวดเร็วต้องมี ก็คือ ความไม่ยอมแพ้ที่จะพลิกวิกฤต เป็นโอกาส ไม่หยุดที่คิดและมองหาโซลูชันใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรของคุณ ไม่เพียงแค่อยู่รอด แต่เติบโตอย่างสง่างาม ไม่ว่าโลกจะหมุนไปเร็วแค่ไหนก็ได้ตาม
หากผู้อ่านท่านสนใจมาร่วมเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ผ่านการลงมือทำ เพื่อฟื้นองค์กรหลังวิกฤตอย่างรวดเร็วแบบองค์กรที่มี ‘Resilience’ พบกับเวิร์กชอปโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากกว่า 100 หัวข้อที่เราคัดสรรมาให้ได้เรียนรู้กันแบบเข้มข้น พบกันได้ที่งาน Corporate Innovation Summit 2020 LIVE ซื้อบัตรราคาพิเศษได้ต้ังแต่วันนี้ถึง 21 สิงหาคมนี้เท่านั้นที่ cis.riseaccel.com
ตัวอย่างสุดยอดเวิร์กชอป
‘Lessons Learned From Launching A New Product In 2 Weeks When COVID Struck’ โดย Cyril Delattre หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการสื่อ จาก Airbnb สตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่บริการแบ่งปันที่พักชื่อดัง ซึ่งอยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบอย่างสาหัสทางธุรกิจจากโควิด-19 ที่จะมาแชร์ประสบการณ์จริงในการรับมือกับมรสุมลูกโต โดยสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ‘Airbnb Online Experiences’ ที่นำเอาประสบการณ์การท่องเที่ยวที่นำโดยโฮสต์ท้องถิ่นจากกว่า 30 ประเทศ มาให้ผู้คนทั่วโลกสัมผัสได้ในโลกออนไลน์อย่างน่าสนใจ ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
‘Unlearn: Let Go of Past Success to Achieve Extraordinary Results’ โดย Barry O’Reilly ผู้ให้คำแนะนำทางด้านธุรกิจและนักเขียนหนังสือ Unlearn: Let Go of Past Success to Achieve Extraordinary Results ที่จะมาทำเวิร์กชอปให้คุณ ‘Unlearn’ หรือ เลิกยึดติดกับประสบการณ์เก่า เพื่อสำเร็จในยุคใหม่ พร้อมบอกเคล็ดลับและฝึกทักษะนี้ เพื่อไม่ให้ความสำเร็จในอดีตกลายมาเป็นอุปสรรคให้ไม่สามารถเรียนรู้หรือทดลองสิ่งใหม่ได้
‘Human-centered Design for Innovation’ โดย Sukhita Karthi, Human-centered Designer หรือนักออกแบบนวัตกรรมที่ใช้ความต้องการของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในด้านการออกแบบนวัตกรรม ที่จะมาสอนวิธีการสร้างและออกแบบนวัตกรรมที่เน้นการเข้าใจความต้องการของมนุษย์ เพื่อนวัตกรรมที่สรรค์สร้างออกมานั้นจะตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาที่มนุษย์มีได้จริง